การทดลองทางคลินิกของโรคไตเรื้อรังกับกัญชาทางการแพทย์

Last updated: 11 พ.ย. 2563  | 

"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร/ Natthawut J.

 

MediPharm Labs Inc ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกัญชารักษาโรคได้เริ่มการทดลองทางคลินิกเพื่อวิจัยและประเมินประสิทธิภาพของยาที่ผลิตได้จากกัญชาของบริษัทในการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายหรือโรคไตเรื้อรัง (CKD)

โรคไตเรื้อรังเกี่ยวข้องกับสภาวะของไตถูกทำลายมาเป็นระยะเวลานานซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของอวัยวะในการกรองเลือด ซึ่งหมายถึงของเสียที่เป็นพิษสะสมในร่างกาย  ทั้งนี้ภาวะที่ลุกลามอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ ไตวาย (kidney failure)  และเสียชีวิตในที่สุด

อ้างอิงจากสมาคมโรคไต  (according to Kidney.org)  พบว่าความชุกของโรคค่อนข้างน่าตกใจ กล่าวคือ มีผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 37 ล้านคนเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) และโรคหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ในการเสียชีวิตของทุกคนที่เป็นโรคนี้ ซึ่งสาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรังคือ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเมื่อรวมกันถือเป็นสาเหตุถึงสองในสามของเคสนี้

บริษัท MediPharm Labs ได้ร่วมมือกับบริษัท OTT Healthcare Inc. ของแคนาดาเพื่อทดลองใช้ ซึ่งในขั้นต้นจะตรวจสอบขนาดของการให้ยารวมถึงรายละเอียดความปลอดภัยของการกำหนดใช้สารแคนนาบินอยด์ (cannabinoid) ตลอดจนประเมินความเจ็บปวดและคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับยาซึ่งรายละเอียดไม่ได้เปิดเผยในประกาศ

จากการตรวจสอบนี้จะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้มาสนับสนุนการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มแบบ double-blind ซึ่งเป็นการทดลองแบบอำพรางสองฝ่ายที่มีความเข้มงวดเพื่อสร้างความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ 

Pat McCutcheon CEO ของ Medipharm Labs กล่าวว่า “ไตวาย (Renal disease) เป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตอันดับที่ 11 และเป็นสาเหตุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวด คัน (คันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง) การนอนหลับที่ไม่ปกติ ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้า”  “เราเชื่อว่าการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อรักษาผลที่เกิดขึ้นอันเป็นความเสียหายมากนี้เป็นเรื่องที่ควรจะต้องทำมาตั้งนานแล้ว”

อ้างอิงจากบทความ (According to a paper) ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Physiology – สรีรวิทยาไต (Renal Physiology) ในปี 2017  ระบุว่าตัวรับสองประเภทที่แตกต่าง (CB1 และ CB2) เปิดใช้งานโดยส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกัญชาพบได้ในเนื้อเยื่อจำนวนมากรวมทั้งไตด้วย - ดังนั้นจึงมีศักยภาพที่จะเกิดผลที่เป็นประโยชน์

นับเป็นความก้าวหน้ามากมายหากกัญชาที่มีประโยชน์ทางยารักษาสามารถช่วยรักษาหรือจัดการกับโรคไตเรื้อรังได้ (CKD)

ทั้งนี้ในข่าวล่าสุดอื่นๆ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาจากบริษัท MediPharm Labs  ระบุว่าบริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในแคนาดาประกาศว่าได้ทำข้อตกลงการซื้อกิจการเพื่อซื้อส่วนที่เหลือ 20% จาก MediPharm Labs Australia ที่เป็นบริษัทในเครือซึ่งก่อตั้งในปี 2017

 

 

 

 

Source:

HEMPGAZETTE.COM / Oct.21, 2020

By: Steven Gothrinet

https://hempgazette.com/news/cannabis-kidney-disease-hg1288/



 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้