25 ก.ค. 2562
การวิเคราะห์สารในกัญชานั้นสำคัญอย่างไร ? ทำไมถึงจำเป็นต้องรู้ปริมาณสารต่างๆ ในกัญชา ? คำตอบคืออะไร ? อ.รสสุคนธ์ จะมาคลายข้อสงสัยให้หมดไปรับชมได้ในวิดีโอ
25 ก.ค. 2562
สงสัยไหมว่า...การนำกัญชามาใช้ในการบำบัดรักษาโรค จะต้องทำยังไง ? สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? วิธีแบบไหนจึงจะให้ผลดีที่สุด ? อ.รสสุคนธ์ จะอธิบายให้ฟังอย่างง่ายๆ รับชมได้ในวิดีโอนี้
25 ก.ค. 2562
อยากรู้ไหมว่า..มีกลุ่มโรคอะไรบ้างที่กัญชาสามารถช่วยทำให้อาการดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา จะอธิบายถึงโรคที่ใช้กัญชาแล้วทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะมีโรคอะไรบ้าง รับชมได้ในวิดีโอนี้
25 ก.ค. 2562
กัญชงและกัญชา แตกต่างกันอย่างไร ? CBD และ THC สารตัวใดที่ทำให้เมา ? คนส่วนใหญ่ต้องการ CBD หรือ THC มากกว่ากัน ? พบกับคำตอบสั้นๆ กระชับ เข้าใจง่าย โดยผู้ให้ข้อมูลด้านกัญชา จากสภาเกษตรกรแห่งชาติ ข้อมูลจะเป็นอย่างไร เชิญรับชมได้ในวิดีโอนี้
25 ก.ค. 2562
จากการทดลองสอบถามผู้เข้าร่วมงานพันธุ์บุรีรัมย์ ในเรื่องของการเข้าถึงการรักษาด้วยกัญชาที่ควรจะทำให้ทั่วถึงมากกว่าปัจจุบัน ประชาชนและสภาเกษตรกร จะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ ? มีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง ? เราลองมาดูในวิดีโอนี้กัน
19 ก.ค. 2562
ในกัญชงและกัญชา พืชฝาแผดที่คล้ายกันจนแยกด้วยตาเปล่าไม่ออก การจะแยกได้อย่างชัดเจน ต้องนำมาตรวจด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น เพื่อจำแนกสารต่างๆ ออกมา แล้วสารในกัญชงและกัญชาเมื่อแยกออกมาแล้วจะมีอะไรบ้าง ? มาดูข้อมูลในวิดีโอนี้กัน
19 ก.ค. 2562
กัญชามีสารหลายชนิด หนึ่งในสารสำคัญนั้น คือ THC โดย THC มีฤทธิ์ในการแก้ปวด แต่ผลข้างเคียง คือ ทำให้เคลิบเคลิ้ม ซึ่งในกัญชาแต่ละรูปแบบก็มีปริมาณ THC ที่ไม่เท่ากัน หากใช้ปริมาณ THC มาก ก็จะทำให้เราเมาได้... เราลองมาดูกันว่ากัญชาแต่ละรูปแบบจะมีปริมาณ THC เท่าใด มารับชมข้อมูลในวิดีโอนี้กัน
19 ก.ค. 2562
"กัญชาเสรี" มีหลายคนบอกว่า ไม่มีวันเกิดขึ้นได้จริง หรือยากมากที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย...... แต่.....มันได้เกิดขึ้นจริงแล้วในหลากหลายประเทศ ซึ่งสามารถให้ประชาชนใช้กัญชาได้อย่างเปิดกว้าง สงสัยไหมว่า... เขามีระบบจัดการกันอย่างไร ? ยังคงต้องมีการควบคุมอยู่หรือไม่ ? มีประเทศอะไรบ้าง ? ประเทศใดเป็นประเทศแรกของโลกที่เปิดการใช้เสรี ? รับชมข้อมูลได้ในวิดีโอนี้
19 ก.ค. 2562
ไฟโตแคนนาบินอยด์ คืออะไร ? มีประโยชน์ไหม ? รักษาโรคได้หรือเปล่า ? รับชมข้อมูลได้ในวิดีโอนี้
19 ก.ค. 2562
"ไฟโตเคมิคอล" คืออะไร ? ทำไมร่างกายคนเราถึงต้องการ "ไฟโตเคมิคอล" ? แล้วเราจะหา "ไฟโตเคมิคอล" จากที่ไหน ? อ.รสสุคนธ์ จะมาอธิบายให้พวกเราเข้าใจกัน เชิญรับชมได้ในวิดีโอนี้
19 ก.ค. 2562
"ยาสมุนไพร" ฟังดูแล้วอาจจะดูโบราณ ไม่น่าเชื่อถือ แต่.......น่าแปลกไหม ? เพราะอะไรความคิดเหล่านี้เริ่มจืดจางหายไป ทั้งที่เราอยู่ในโลกยุคดิจิตอล.... ทำไมกระแสโลกตอนนี้ถึงหันมาให้ความสนใจกับยาสมุนไพรมากขึ้น ? และหากกลับมาคิดดูให้ดี ยาสังเคราะห์ (เคมี) น่าเชื่อถือกว่ายาสมุนไพรจริงหรือเปล่า ? อ.รสสุคนธ์ จะมาอธิบายให้พวกเราเข้าใจกัน เชิญรับชมได้ในวิดีโอนี้
19 ก.ค. 2562
อดีต...กัญชาเป็นสิ่งที่เลวร้าย ไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อร่างกายเลย....เมื่อถูกทำให้เป็นสิ่งที่เลวร้าย การศึกษาวิจัยพัฒนาด้านกัญชาในประเทศไทยจึงไม่เกิดขึ้นมาเกือบครึ่งศตวรรษ.....ปัจจุบัน....โลกเปลี่ยนจากการรับข่าวสารเพียงด้านเดียว สู่การรับข้อมูลที่หลากหลายช่องทาง และสะดวกมากขึ้น ข้อมูลการค้นพบใหม่ๆ เกี่ยวกับกัญชาถูกเผยแพร่อย่างต่อเนื่องจากทั่วโลก มันจะมีอะไรบ้าง ? รับชมได้ในสัมมนาทอล์กกัญสนั่นเมือง 2
19 ก.ค. 2562
การนำกัญชามาใช้บำบัดรักษาอาการป่วยในมนุษย์ มีที่มาเป็นอย่างไร ? เริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่เมื่อใด ? เริ่มแรกใช้ในการบำบัดรักษาอาการป่วยประเภทใด ? และข้อมูลวิจัยของการรักษาด้วยกัญชาสามารถหาได้จากที่ไหน ? พญ.จินตนา มโนรมย์ภัทรสาร จะมาเล่าความเป็นมาของการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ และแหล่งข้อมูลงานวิจัยในการใช้กัญชารักษาโรค ให้พวกเราได้เข้าใจกัน รายละเอียดเป็นเช่นไร เชิญรับชมได้ในวิดีโอนี้
19 ก.ค. 2562
กัญชาสามารถรักษาโรคได้สารพัด ? เป็นประโยคที่ได้ยินหนาหูมากขึ้นในช่วงเวลานี้ มีผู้ป่วยหลากหลายโรคอยากจะได้ทดลองถึงสรรพคุณของกัญชา ว่าจะจริงหรือไม่... แต่....สามารถใช้รักษาได้กับผู้ป่วยทุกกลุ่มโรคเลยหรือเปล่า ? กลุ่มผู้ป่วยที่ได้ประโยชน์จากการใช้กัญชารักษาคือกลุ่มใด ? รับชมข้อมูลในวิดีโอนี้กัน
19 ก.ค. 2562
การจะนำกัญชาไปรักษาโรคนั้น เราควรต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญซะก่อน โรคที่ป่วยนั้นๆ ต้องใช้สารตัวใดในการรักษา ? สารที่ต้องการนั้นอยู่ในสายพันธุ์ใด ? จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน ? คุณหมอสมยศจะแนะนำตัวอย่างแนวทางในการนำกัญชาไปใช้รักษาโรค จะมีรายละเอียดเช่นไร รับชมได้ในวิดีโอนี้
18 ก.ค. 2562
ใครจะขออนุญาตปลูกกัญชาได้บ้าง ???? เป็นคำถามที่ฮิตมากในช่วงของกระแสกัญชาทางการแพทย์ได้เริ่มขึ้นในประเทศไทย วิดีโอนี้ คุณหมอสมยศจะมาอธิบายให้พวกเราได้เข้าใจกัน ว่าใครที่จะสามารถปลูกกัญชาได้บ้าง....
18 ก.ค. 2562
เรื่องของกัญชาทางการแพทย์นั้นอาจมีข้อมูลที่มากมายหลากหลายแหล่ง ข้อมูลอาจจะจริงบ้าง และไม่จริงบ้าง หากผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลไม่ได้ศึกษาอย่างเข้าถึง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ในบางครั้งอาจจะทำให้คนส่วนใหญ่ที่กำลังหาข้อมูลเหล่านี้อยู่สับสนได้.... คุณหมอสมยศจะสรุปย้ำให้ฟังชัดๆ สั้นๆ ในสิ่งที่ควรต้องจำของเรื่องกัญชาทางการแพทย์จะมีเนื้อหาเป็นอย่างไร เชิญรับชมกันในวิดีโอนี้กัน
18 ก.ค. 2562
เมื่อแมลงศัตรูพืชมาโจมตีต้นกัญชาที่ปลูกไว้ !!! จะป้องกันจัดการกับมันอย่างไรเพื่อไม่ให้กัญชาที่ปลูกไว้เสียหาย เราลองมารับชมในวิดีโอนี้กัน กับเทคนิคป้องกันและจัดการศัตรูของกัญชา
18 ก.ค. 2562
กัญชา คือ "ยาเสพติด" คงเป็นคำที่พวกเราส่วนใหญ่ได้ยินกันมานาน แต่...เมื่อไม่นานมานี้ได้มีกระแสใหม่ว่า กัญชา คือ "ยารักษาโรค" ซึ่งเป็นกระแสที่สังคมให้ความสนใจ และปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะเข้าใจได้แล้วว่ากัญชา คือ ยารักษาโรค แล้วรู้ไหมว่ากัญชามีประโยชน์อะไรอีก นอกเหนือจาก ยารักษาโรค... คำตอบคือ "ผลิตภัณฑ์จากกัญชา" นั่นเอง แต่จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร คุณหมอสมยศจะมาอธิบายให้เราได้เข้าใจกัน เชิญรับชมในวิดีโอนี้ได้เลย
18 ก.ค. 2562
เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2562 สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย จัดเสวนา หัวข้อ "มาทอล์กกัญสนั่นเมือง 2" โดยวัตถุประสงค์เพื่อ - ศึกษาเจาะลึกถึง Supply Chain กัญชาไทย ปลูก สกัด และรักษา - สร้างความรู้ความเข้าใจ ยกระดับกัญชาจากยาเสพติดสู่ยารักษาโรค - ใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย และการกำกับดูแล - หาแนวร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทันต่อการพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป
18 ก.ค. 2562
ถ้าป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด จะต้องรักษาอย่างไร ? ใช้น้ำมันกัญชา หรือ กัญชาชนิดแคปซูลได้ไหม ? คำถามจากญาติของผู้ป่วยรายหนึ่งที่เปี่ยมด้วยความหวังจากการรักษาด้วย "กัญชา" คุณหมอสมยศจะให้คำตอบอย่างไร เชิญรับชมได้ในวิดีโอนี้
18 ก.ค. 2562
เมื่อแต่ละสายพันธุ์กัญชานั้นให้ผลลัพธ์ในการรักษาแต่ละโรคที่ไม่เหมือนกัน... แล้วหากว่าเรารู้ว่าสายพันธุ์ใดมีตัวยาที่เราต้องการแล้ว จากนั้นเราจะหากัญชาเหล่านั้นได้จากที่ไหน ? เป็นคำถามข้อสงสัยของผู็ป่วยรายหนึ่ง จากงานพันธุ์บุรีรัมย์ คำตอบของคุณหมอสมยศจะเป็นเช่นไร ลองมารับชมกัน...
18 ก.ค. 2562
หากเราไปเรียนแพทย์แผนไทย เมื่อจบออกมาแล้ว จะสามารถปลูกกัญชาเองได้ไหม ? นอกจากจะปลูกทำยารักษาโรคแล้วสามารถทำผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ไหม ? คำถามข้อสงสัยจากผู้ร่วมสัมมนาท่านหนึ่ง ที่อยากทราบเกี่ยวกับเรื่องการปลูกของแพทย์แผนไทย.... คำตอบจากคุณหมอสมยศจะเป็นอย่างไร เชิญรับชมในวิดีโอนี้กัน
18 ก.ค. 2562
มะเร็ง vs กัญชา รอดหรือไม่รอด ? ผลงานวิจัยในต่างประเทศ นำสารสกัดกัญชาร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งสมอง 21 คน เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่ามีอัตรารอดชีวิต 83% เทียบกับการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัดอย่างเดียว รอดชีวิตแค่ 53% เท่านั้น ถามว่าคุณกำลังรอผลงานวิจัยที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยกัญชาอยู่หรือเปล่า ? ถ้ารอผลวิจัยเพียงอย่างเดียวมันจะสายเกินไปหรือไม่ ? สุดท้ายคุณต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะลองหรือไม่ลอง.....
18 ก.ค. 2562
คุณรู้ไหมว่าในต่างประเทศเมื่อหาวิธีการรักษาโรคต่างๆไม่ได้ ไม่มีทางออก เขาจะลองใช้กัญชาเข้ามารักษา..... ซึ่งไม่ต้องสนใจข้อกังขาใดๆ หรือไม่จำเป็นต้องหางานวิจัยใดมารองรับ ถ้าหาวิจัยได้ก็ดี แต่หาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะกัญชาคือสมุนไพร.... แล้วมันจะให้ผลลัพธ์เป็นเช่นไรกับโรคที่หาวิธีการรักษาไม่ได้ เราลองมารับชมดูกัน
17 ก.ค. 2562
คุณคิดว่าหากใช้สารกัญชาจากสายพันธุ์ต่างๆ หรือสารที่สกัดในรูปแบบต่างๆ ที่ต่างกัน จะให้ผลลัพธ์ในการรักษามะเร็งทุกชนิดได้ผลเหมือนทั้งหมดหรือไม่ ? คุณหมอสมยศจะอธิบายเกี่ยวกับการใช้สารกัญชากับมะเร็งแต่ละชนิดให้เราเข้าใจกัน เชิญรับชมได้ในวิดีโอนี้
17 ก.ค. 2562
หากใช้กัญชาแล้วจะมีสารของกัญชาตกค้างในร่างกายเป็นเวลานานเท่าไร ? หากต้องการขับสารกัญชาเหล่านั้นออกมาควรทำอย่างไร ? คุณหมอสมยศจะอธิบายเกี่ยวกับสารกัญชาในร่างกายให้เราหายสงสัยกัน จะเป็นอย่างไรบ้าง เชิญรับชมในวิดีโอ
17 ก.ค. 2562
กระแสการใช้กัญชาทางการแพทย์ในขณะนี้กำลังเป็นที่พูดถึงในสังคมเป็นอย่างมาก แต่.....การใช้กัญชาแต่ละวิธีการให้ผลที่เหมือนกันหรือไม่ ? ผลข้างเคียงของการใช้กัญชามีอะไรบ้าง ? มารับชมข้อเท็จจริงในวิดีโอตัวนี้กัน
17 ก.ค. 2562
โค้งสุดท้ายของการขอนิรโทษกรรมกัญชาใกล้หมดเวลาลงแล้ว สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สะดวกในการไปจดแจ้ง สามารถลงทะเบียน "ผู้ป่วย" ใช้กัญชาทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 13-21 พ.ค.2562 โดยความร่วมมือของ สภากาชาดไทย และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทั้งนี้เพื่อดำเนินการดูแลปกป้องสิทธิของผู้ป่วยที่ต้องการใช้กัญชารักษาโรค ให้สามารถมียากัญชาที่มีมาตรฐานใช้ได้อย่างทั่วถึง ไม่เป็นเหยื่อของผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากการขายน้ำมันกัญชาใต้ดินที่ไร้มาตรฐาน รวมถึงอำนวยความสะดวกผู้ที่เตรียมเอกสารแจ้งครอบครองไม่ทัน หลังพ้นวันที่ 21 พ.ค. 2562 จึงจะเรียกตรวจสอบเอกสารภายหลัง....การลงทะเบียนนี้จะทำให้ได้ข้อมูลระดับประเทศว่ามีผู้ที่ต้องการใช้กัญชามากน้อยแค่ไหน เพื่อรัฐบาลจะได้ผลิตให้กับผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงนั่นเอง....
17 ก.ค. 2562
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้กระแสเรื่องกัญชาเพื่อการรักษาโรคกำลังอยู่ในความสนใจ เพราะมีการวิจัยจากต่างประเทศแล้วว่าสามารถนำมาสกัดรักษาโรคได้ ทำให้มุมมองเรื่องกัญชาที่เคยเป็นยาเสพติดเปลี่ยนไป ขณะที่ประเทศไทยก็มีการตื่นตัวกับเรื่องนี้ เวทีงานเสวนาวิชาการสภากัญชา จังหวัดชลบุรี 2562 ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่มีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านมาถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์และเปิดมุมมองกัญชารักษาโรค ผ่านหัวข้อเสวนาเรื่อง กัญชา ภาครัฐ ภาคประชาชนและการเข้าถึงพื้นที่สุขภาวะ กัญชาใช้รักษาโรคได้อย่างไร ผู้ป่วยกลุ่มไหนได้ประโยชน์ และเรื่องราวของกัญชากับภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยเรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามได้ที่นี่
17 ก.ค. 2562
นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย คณบดีคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา เผยแนวคิดจัดทำโครงการวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ ครบคลุมกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ พร้อมดึงผู้รู้ส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมทีม และขยายองค์ความรู้ไปยังภาคประชาชน
17 ก.ค. 2562
เรื่องราวของ อ.นิเวศ พิพัฒนติกานันท์ ผู้ป่วย และ ตัวแทนชมรมผู้ป่วย NCD(หมอแผนไทย) กับประสบการณ์การตรงในการใช้กัญชา กับภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ในรักษามะเร็งระยะ 4 กัญชาช่วยรักษาได้อย่างไร ? ติดตามชมได้คลิปนี้
17 ก.ค. 2562
ประเทศสหรัฐอเมริกาเคยได้บอกกับนานาประเทศไว้ว่า "กัญชาไม่มีสารอะไรที่เป็นประโยชน์เลย" แต่วันนี้สิทธิบัตรกัญชากลับกลายเป็นของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไปซะแล้ว... สรุปแล้วกัญชามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กันแน่.... เชิญรับชมข้อมูลและข้อเท็จจริงจากปากของผู้คนที่ผ่านประสบการณ์ในการใช้กัญชารักษาโรคมาแล้ว
17 ก.ค. 2562
กัญชงและกัญชามันต่างกันอย่างไร ทั้งที่ลักษณะภายนอกคล้ายกันหมด จะมีวิธีการจำแนกอย่างไร ถึงจะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า "กัญชง" หรือ "กัญชา" วันนี้เราจะได้รู้กัน เชิญรับชมรายละเอียดได้ในวิดีโอนี้
17 ก.ค. 2562
รู้ไหมว่ากัญชาเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ เนื่องจากเกสรตัวผู้และตัวเมียไม่ได้อยู่ในดอกเดียวกัน แล้วจะมีวิธีการสังเกตุและจำแนกอย่างไร ? การจะนำไปใช้ทำยาต้องใช้จากเกสรตัวผู้หรือตัวเมีย ? ควรจะต้องผสมพันธุ์เกสรก่อนหรือไม่ จึงจะได้ตัวยาที่ดีที่สุด ? แล้วเมล็ดพันธุ์กัญชาที่ใช้ปลูกในทางการแพทย์จะมีราคาเท่าไร ? ในวิดีโอนี้ คุณหมอสมยศจะมาอธิบายเกี่ยวกับเพศของกัญชาที่นำไปใช้ทำยา ซึ่งจะมีเนื้อหาเป็นอย่างไร เชิญรับชมกัน...
17 ก.ค. 2562
ทำไมต้องชำกิ่งหรือโคลนนิ่งต้นกัญชา ? เมื่อนำเมล็ดกัญชามาปลูกได้ซักระยะหนึ่งจนสามารถจำแนกเพศได้อย่างชัดเจนแล้ว ต้นตัวผู้จะเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ปลูกเพื่อทำยารักษา เนื่องจากตัวยาน้อยมากและยังสร้างปัญหาต่อต้นตัวเมียในการสร้างสารที่มีคุณภาพออกมาอีกด้วย.... อย่างไรก็ตาม เราไม่สารมารถรู้เพศของกัญชาได้จนกว่าต้นกัญชาจะโตได้ซักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้เวลานานพอสมควร ดังนั้นเมื่อปลูกได้ต้นตัวเมียมาแล้วจึงนิยมนำมาชำกิ่งหรือโคลนนิ่ง เพื่อเพิ่มจำนวนของต้นตัวเมียให้มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้เวลาเพื่อเสี่ยงดวงลุ้นว่าจะได้ต้นตัวผู้หรือตัวเมียเหมือนการปลูกจากเมล็ด.... จะมีขั้นตอนวิธีการอย่างไร ลองมาชมในวิดีโอตัวนี้ดูกัน
17 ก.ค. 2562
เมื่อแมลงศัตรูพืชมาโจมตีต้นกัญชาที่ปลูกไว้ !!! จะป้องกันจัดการกับมันอย่างไรเพื่อไม่ให้กัญชาที่ปลูกไว้เสียหาย เราลองมารับชมในวิดีโอนี้กัน กับเทคนิคป้องกันและจัดการศัตรูของกัญชา
17 ก.ค. 2562
เมื่อ THC คือหนึ่งในตัวยาสำคัญในการรักษาโรค ซึ่งในกัญชาแต่ละสายพันธุ์จะมี THC มากน้อยไม่เท่ากัน แล้วถ้าหากอยากให้ต้นกัญชาผลิต THC ออกมามากขึ้น จะต้องทำยังไง ? มีเทคนิคอย่างไรบ้าง ? เราลองมาดูเทคนิคดังกล่าวในวิดีโอนี้กัน
17 ก.ค. 2562
เมื่อปลูกกัญชาได้ซักระยะหนึ่ง กัญชาจะเริ่มออกดอก แต่จะออกดอกเร็วหรือช้า ออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่ที่การดูแล... หากดอกออกมามาก นั่นหมายถึง วัตถุดิบที่ใช้ทำยาก็มากขึ้น แต่ถ้าดูแลไม่ดีก็อาจจะออกดอกน้อยมาก จะมีวิธีอย่างไรที่จะช่วยกระตุ้นให้กัญชาออกดอกได้เร็ว ? จะรู้ได้ยังไงว่าสามารถจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตอนไหน ? เราลองลองรับชมกัน
17 ก.ค. 2562
วิธีการสกัดสารจากกัญชาเพื่อนำมาใช้ทางการแพทย์นั้นมีหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่นิยมทำกัน คือ "วิธีสกัดเย็น" ด้วยตัวทำละลายที่ชื่อว่า "เอทิลแอลกอฮอล์" เมื่อได้สารที่ต้องการ จึงนำมาต้มไล่แอลกอฮอล์ทิ้งไป แล้วมันจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ? จะมีขั้นตอนแบบไหน ? ควรต้องระวังในเรื่องใดบ้าง ? ต้องใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์อะไรบ้าง ? วิดีโอนี้ คุณหมอสมยศจะยกตัวอย่างมาอธิบายให้เราเข้าใจกันอย่างง่ายๆ จะมีรายละเอียดอย่างไร เราลองมารับชมดูกัน