Last updated: 2 มี.ค. 2564 |
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร/ Natthawut J.
การวิจัยใหม่ที่ศึกษาเกี่ยวกับความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงพบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้กัญชาและการลดความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic blood pressure) ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว หรือที่เรียกว่าความดันตัวบน และไดแอสโตลิก (Diastolic blood pressure) ความดันโลหิตขณะหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว หรือที่เรียกว่าความดันตัวล่าง ซึ่งเป็นผลการวิจัยที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับความดันทั้งสองแบบ
การวิจัยเรื่อง“ กัญชาเกี่ยวข้องกับการลดความดันโลหิตในผู้สูงอายุ - การศึกษาการติดตามความดันโลหิตแบบผู้ป่วยนอก 24 ชั่วโมง” (Cannabis is associated with blood pressure reduction in older adults – A 24-hours ambulatory blood pressure monitoring study) ซึ่งดำเนินการโดย Ran Abuhasira, MD, จาก Ben-Gurion University of the Negev (BGU) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยสาธารณะและทีมงานของเขาในอิสราเอล และถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ European Journal of Internal Medicine ในเดือนมกราคมที่ผ่านมาโดยพิจารณาไปที่ผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีความดันโลหิตสูงและได้รับใบสั่งยากัญชาทางการแพทย์ จากนั้นการวิจัยจะติดตามอัตราการใช้และระดับความดันโลหิตของพวกเขา ซึ่งจากนั้นกลุ่มผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือด,การติดตามและขั้นตอนทางการแพทย์อื่นๆ ในช่วงสามเดือน เนื่องจากพวกเขาใช้กัญชาเพื่อจัดการกับ ความเจ็บป่วย
ทั้งนี้ทีมนักวิจัยได้พิจารณาไปที่ผู้ป่วยกัญชาทั้งหมด 26 ราย ซึ่ง 53.8% เป็นผู้หญิง ผลการวิจัยพบว่าแม้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG exam) ของการศึกษาผู้ป่วย แต่ทว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูงซึ่งใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องพบว่าความดันโลหิตโดยรวมจะลดลง
การวิจัยระบุเกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีระดับความดันโลหิตลดลงไว้ว่า “ สัดส่วนของความดันปกติเปลี่ยนจาก 27.3 % ก่อนการรักษาเป็น 45.5 % ในภายหลัง” และ “ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในพารามิเตอร์การเผาผลาญต่างๆ ที่ประเมินโดยการตรวจเลือด การวัดขนาดของร่างกาย หรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ”
ทั้งนี้ “การใช้กัญชาทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุด” และยังคงดำเนินต่อไป “ อย่างไรก็ตามหลักฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของหัวใจและหลอดเลือด(cardiovascular safety) ในการใช้กัญชานั้นยังไม่เพียงพอ การศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลของกัญชาต่อความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจและพารามิเตอร์การเผาผลาญในกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรค ความดันโลหิตสูง”
จากระดับที่ตรวจสอบความดันโลหิตถึงจุดต่ำสุดเพียงประมาณสามชั่วโมงหลังจากผู้ที่อยู่ในการวิจัยบริโภคกัญชาไม่ว่าจะผ่านการสูบกัญชาหรือการสูดไอระเหยและการบริโภคจากสารสกัด การลดความดันโลหิตยังเด่นชัดขึ้นในตอนกลางคืนซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาและการบรรเทาอาการปวด (pain relief).
กัญชากับผู้สูงอายุ
แม้ว่าผู้สูงอายุ (seniors) เป็นกลุ่มประชากรที่เติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มผู้ที่ใช้กัญชา แต่ก็ยังมีงานวิจัยไม่มากมายเกี่ยวกับวิธีการและเหตุผลที่พวกเขาบริโภค ด้วยเหตุนี้เช่นเดียวกับความนัยที่มีต่อความดันโลหิตและโรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นการวิจัยที่สำคัญ
การวิจัยสรุปว่า “จากการรักษาด้วยกัญชาเป็นเวลา 3 เดือนในกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีความเกี่ยวข้องกับการลดค่าความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิก 24 ชั่วโมงตามเกณฑ์ระดับที่ต่ำสุด (nadir) ที่สามชั่วโมงหลังการให้ยากัญชา”
งานวิจัยนี้มีความสำคัญเพราะได้แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการใช้กัญชากับการลดความดันโลหิตในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ผู้ป่วยทางการแพทย์ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถใช้ใบสั่งยากัญชาในอนาคตเพื่อช่วยรักษาความดันโลหิตได้ นอกจากนี้การค้นพบนี้เป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญเกี่ยวกับการใช้กัญชาในผู้สูงอายุซึ่งเป็นพื้นที่ที่การใช้กัญชายังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
Source:
Hightimes/ Feb.10, 2021
https://hightimes.com/health/study-shows-cannabis-lowers-blood-pressure-hypertension-patients/
By: ADDISON HERRON-WHEELER
27 เม.ย 2564