Last updated: 2 พ.ค. 2562 |
ตำแหน่ง
อาจารย์-รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา ปี 2518-2532
ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา ปี 2533
อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2536-2538
หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา ปี 2540-2548
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิจัยด้านกีฏวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2541-2550
นายกสมาคม Asian Apicultural Association ปี 2550-ปัจจุบัน
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี 2551-ปัจจุบัน
เกียรติคุณ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก นักกีฏวิทยาดีเด่นจากภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2538 นักวิทยาศาสตร์เกษตรดีเด่น จากสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2541 Excellent Bee Biologist จาก Asian Apicultural Association (AAA) ประเทศญี่ปุ่น 2541 เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2545
ผลงานสำคัญ: งานวิจัย
ผลงานวิจัยที่ลงพิมพ์ในวารสารต่างประเทศและในประเทศไทยมากกว่า ๑๕๐ บทความ หนังสือ
ยาฆ่าแมลง. สำนักพิมพ์ซีเอ็ด
แมลงศัตรูสำคัญทางการเกษตร. สำนักพิมพ์โอเดียน
ชีววิทยาของผึ้ง. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผึ้งและน้ำผึ้ง. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Asian Honey Bees. Harvard University Press USA
ความหลากหลายทางชีวภาพและการเลี้ยงผึ้งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นับเป็นประเทศหนึ่งที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในระดับสูง โดยเฉพาะในแง่ของความหลากหลายทางชีวภาพของผึ้ง โดยจากการสำรวจ พบว่ามีผึ้งในสกุล Apis ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ A. andreniformis, A. florea, A. dorsata, A. laboriosa, A. cerana, A. mellifera ทั้งนี้ในรัฐกะฉิ่น (Kachin) มีผึ้งอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ A. dorsata, A. laboriosa, A. cerana และ A. mellifera ในเขตรัฐสะกาย (Sagain) มีผึ้งอยู่ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ A. florea, A. dorsata, A. laboriosa, A. cerana และ A. mellifera ส่วนในรัฐฉาน (รัฐไทยใหญ่) มีผึ้งอยู่ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ A. dorsata, A. laboriosa (ชนิดใหญ่ที่สุดในโลก), A. cerana, A. mellifera และ A. andreniformis (ผึ้งสายพันธุ์เล็กที่สุดในโลก และรายงานค้นพบเป็นครั้งแรกในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์) นอกจากนี้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ยังมีพืชอาหารที่ให้น้ำผึ้งหลากหลายชนิด โดยเฉพาะพุทรา ซึ่งให้น้ำผึ้งเป็นปริมาณมาก
ในแง่ของการเลี้ยงผึ้งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นั้นเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1979 โดย United Nations Development Program (UNDP) และ Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) ให้การสนับสนุนทุน และจัดผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) นำผึ้งสายพันธุ์ A. mellifera เข้าไปเป็นเลี้ยงเป็นครั้งแรก ในขั้นแรกเริ่มเลี้ยงผึ้งก่อน 395 รัง โดยเป็นผึ้งจากสหรัฐอเมริกา 360 รัง และจากอิสราเอล 35 รัง หลังจากนั้น มีการนำเข้าเพิ่มเติมในช่วงปี ค.ศ. 1980-1983 จากสหรัฐอเมริกา อิสราเอล ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยมีการขยายจำนวนการเลี้ยงขึ้นเป็นถึง 1,550 รัง ต่อมาการเลี้ยงผึ้งได้ขยายตัวขึ้นตามลำดับ และได้รับทุนสนับสนุนจาก FAO ในระยะที่สองในปี ค.ศ. 2013-2016 โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาการเลี้ยงผึ้งและผลิตนมผึ้ง ปัจจุบันการเลี้ยงผึ้งได้รับการส่งเสริมจากกรมวิทยาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตรของกระทรวงเกษตรของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จนมีผึ้งมากกว่า 100,000 รัง (ประมาณ 120,000 รังในปี ค.ศ. 2015)
ปัจจุบันสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณปีละ 5,000 ตัน โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกถึงประมาณ 3,000 ตัน มีการเลี้ยงทั้งผึ้งท้องถิ่นและผึ้งที่มีแหล่งกำเนิดจากทวีปยุโรป โดยการเลี้ยงผึ้งส่วนใหญ่กระทำโดยภาคเอกชน ยังมีการอบรมและขยายพันธุ์ผึ้ง (โดย FAO และกรมวิชาการเกษตรของกระทรวงเกษตรของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์) ไปสู่เกษตรกร
ไม่พลาดทุกข่าวสารสำคัญ เพียงแค่กดเป็นเพื่อน LINE @CANNHEALTH
29 เม.ย 2562
25 เม.ย 2562
29 เม.ย 2562
23 ก.ค. 2562